English  Thai

สมาคมแพทย์แผนไทย ศูนย์สุขุมวิท โปรโมชั่นพิเศษ ลงทะเบียนเรียนนวดไทยมืออาชีพ สามารถเลือกเรียนฟรี อีกหนึ่งหลักสูตรฟรี 081-375-2200

หลักสูตรสปามืออาชีพ โปรโมชั่นพิเศษ
1.เรียน 1 คน ฟรี 1 คน
2.แถมฟรีหลักสูตร บริหารจัดการสปา ฟรี

แพ็คแก็ตสปาทุกครอสลดสูงสุดจนถึง 69 % ด่วนวันนี้จนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2555


สปา-ศาสตร์แห่งความงามเพื่อสุขภาพ

อโรมาเทอราปิ-เพื่อความงาม


น้ำมันหอมระเหย


ลูกประคบสมุนไพร


 สถิติวันนี้ 30 คน
 สถิติเมื่อวาน 14 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
643 คน
3846 คน
413860 คน
เริ่มเมื่อ 2012-03-23

 
 
 
 
 
        
เราสรรหาสิ่งดี ๆ เพื่อคุณ OK-SPA                                                                                                                                                                                                                                         

ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย (Essential Oils) ในอโรมาเทอราปี (Aromatherapy)

น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils) สามารถนำมาบำบัดโรคได้หลายวิธี แต่จากการค้นคว้าวิจัยระบุว่า  วิธีการเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับการระเหยและการสูดดมน้ำมันหอมระเหยผ่านจมูก  เพื่อให้โมเลกุลขององค์ประกอบกระตุ้นอวัยวะรับกลิ่นเพื่อออกฤทธิ์ผ่านระบบลิมบิก  น้ำมันหอมระเหยจะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังเพราะต้องผ่านเซลล์หลายชั้น  ดังนั้นไม่ว่าจะผสมน้ำอาบ หรือนวดตัว ผลที่ได้รับมักจะมาจาการสูดดม  จะเห็นได้ว่าในทุกกรณีจะอาศัยความร้อนเข้าช่วย  เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยกลายเป็นไอแพร่สู่อวัยวะรับกลิ่นภายในจมูกได้เร็วขึ้น จึงมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ การใช้ประโยชน์น้ำมันหอมระเหยในอโรมาเทอราปีทุกวันนี้มีผู้จำแนกไว้หลายวิธี เช่น การจำแนกประเภทของอโรมาเทอราปี (Aromatherapy) ตามวิธีการนำน้ำหอมระเหยไปใช้ สรุปได้คร่าว ๆ ดังนี้

Cosmetic Aromatherapy การใช้น้ำมันหอมระเหยบริเวณใบหน้า ผิว ลำตัว และผม อาจทำได้โดยการอาบ ซึ่งเป็นวิธีง่ายและช่วยผ่อนคลาย โดยเติมน้ำมันหอมระเหยประมาณ 6-10 หยด ลงในอ่างน้ำอุ่น โดยไม่ต้องเติมสบู่ จากนั้นจึงแช่ตัวประมาณ 20 นาที ความร้อนจากน้ำจะช่วยในการดูดซึมผ่านผิวหนังและการดูดไอระเหยในขณะเดียวกัน
 Massage Aromatherapy
การใช้น้ำมันหอมระเหยโดยการนวด เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากเพราะใช้น้ำมันประกอบการสัมผัส ผิวหนังจะมีพื้นที่ผิวในการดูดซับน้ำมันได้มาก ใช้โดยเจือจางน้ำมันหอมระเหยในน้ำมันที่เป็นกระสายยา ในความเข้มข้นประมาณ 5 %
Olfactory Aromatherapy การสูดดมน้ำมันหอมระเหยอาจเป็นการสูดดมโดยตรง หรือผสมลงในน้ำร้อนแล้วสูดไอหอมซึ่งจะช่วยทำให้ผ่อนคลาย


การจัดแบ่งโดยการนำ "น้ำมันหอมระเหย" มาใช้ในรูปแบบที่ละเอียดขึ้น

น้ำมันและโลชั่นบำรุงผิว การเตรียมน้ำมันหอมระเหยเหมือนวิธีการนวด ยกเว้นควรเติมน้ำมันที่บำรุงลงไปด้วย เช่น น้ำมันโจโจบา อโวคาโด หรือแอปริคอท จุดประสงค์เพื่อรักษาผิวหนังที่มีปัญหาโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่การใช้นิ้วมือนวดเบาๆ เป็นวงกลมก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้น้ำมันซึมซาบเข้าผิวหนัง น้ำมันกุหลาบเหมาะกับผิวหนังที่แห้ง หรือเหี่ยวย่น น้ำมันมะกรูด หรือน้ำมันมะนาวช่วยรักษาสิว และผิวหน้าที่มัน
ใช้น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยด ผสมกับครีมโลชั่นธรรมดา หรือเติมไปกับที่พอกหน้า เช่น ข้าวโอ๊ต น้ำผึ้งหรือโคลนกับผลไม้ต่างๆในบางกรณี เช่น ติดเชื้อเฮอร์ปีส์ หรือน้ำกัดเท้า ควรใช้โลชั่นที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ หรือเหล้าวอดก้า 5 ซีซี.ทำให้เจือจางด้วยน้ำต้มเดือดและทิ้งให้เย็น 1 ลิตร สามารถรักษาแผลที่เปิดหรือตุ่มใสที่เกิดจากอีสุกอีใสได้
การประคบร้อนหรือเย็น ได้ผลดีต่อการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อลดการปวดหรืออักเสบ
การประคบร้อน ทำโดยเทน้ำร้อนจัดๆลงในอ่าง เติมน้ำมันหอมระเหย 4-5 หยด เอาผ้าที่พับแล้วจุ่มลงไป บีบน้ำออกพอหมาด ๆ วางลงบนว่านที่ต้องการจนรู้สึกผ้าเย็นก็ทำซ้ำ วิธีนี้มีประโยชน์ต่อการปวดหลัง ปวดตามข้อและกระดูกบวม ปวดหูและปวดฟัน
การประคบเย็น วิธีการเช่นเดียวกันแต่ใช้น้ำเย็นแทนน้ำร้อน เหมาะสำหรับโรคปวดศรีษะ เคล็ด เครียด และการบวมอักเสบ
การบำรุงรักษาผม อาจจะใช้น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยด เมื่อสระผมครั้งสุดท้ายหรือผสมลงในแชมพู วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการบำรุงผม ก็คือ ใช้น้ำมันหอมระเหยประมาณ 3% ผสมกับน้ำมันมะกอกกับโจโจบาหรือน้ำมันอัลมอนด์นวดให้ซึมหนังศีรษะและห่อด้วยผ้าขนหนูอุ่นๆประมาณ 1-2 ชั่วโมง สำหรับน้ำมันโรสแมรี่ และน้ำมันคาโมมายด์ มีคุณสมบัติช่วยปรับสภาพและทำให้ผมงอก น้ำมันลาเวนเดอร์ช่วยไล่เหา น้ำมันมะกรูดช่วยขจัดและควบคุมรังแค
การใช้ไอระเหย การใช้ที่เผาน้ำมันหรือที่กระจายกลิ่นหอมเป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้ห้องมีกลิ่นหอมแทนการใช้ธูปหอม ซึ่งก่อให้เกิดฝุ่นหรือควัน แต่ต้องวางในที่ที่ปลอดภัยและห่างจากเด็กหรือสัตว์เลี้ยง อาจจะหยดน้ำมันหอมระเหยลง 2-3 หยด ที่ขอบโป๊ะหลอดไฟฟ้า หรือหยดลงในชามน้ำที่วางบนเครื่องที่ให้ความร้อน น้ำมันตะไคร้หรือตะไคร้หอมใช้ไล่แมลงและขจัดกลิ่นของบุหรี่ น้ำมันกำยาน หรือน้ำมันยูคาลิปตัส ใช้ในห้องนอนเพื่อช่วยแก้ปัญหาการหายใจขัดหรือแก้ไอในเด็ก
การสูดไอน้ำ วิธีนี้เหมาะกับคนที่เป็นไซนัส หรือติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ โดยเอาผ้าคลุมศีรษะและอ่างที่ใส่น้ำร้อนผสม น้ำมันสะระแหน่หรือน้ำมันไทม์ประมาณ 5 หยด สูดหายใจลึกๆ 1 นาที และทำซ้ำ วิธีนี้อาจใช้อบหน้าได้โดยใช้น้ำมันมะนาวแทน ซึ่งจะช่วยเปิดรูที่อุดตันและลบริ้วรอยบนใบหน้า
การใช้ภายใน เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยเข้มข้นมาก ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากน้ำมันหอมระเหยสามารถถูกดูดซึมเข้าในร่างกายได้ง่ายจึงมีผลต่ออวัยวะภายใน การใช้ภายนอกในกรณีที่เป็นโรคข้ออักเสบ ซึ่งเกิดจาการสะสมพิษที่ข้อต่อการใช้น้ำมันบางชนิด เช่น น้ำมันไพล น้ำมันนิเปอร์ หรือนำมันเบริร์ชสามารถไปชำระล้างพิษ และขณะเดียวกันก็ลดการปวดและอักเสบได้
วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยมีหลายวิธี  ดังต่อไปนี้
1. การบีบ  คั้น  เป็นการสกัดเย็น  โดยวิธีใช้แรงบีบ  วิธีนี้ใช้กับพืชกลุ่มที่มีนำมันหอมระเหยมากจะได้น้ำมันหอมระเหยที่เป็นธรรมชาติเพราะไม่ผ่านความร้อน  เรียกว่า  น้ำมันดิบ  แต่ข้อเสียคือ  อาจจะมีสิ่งเจือปนมากับพืชที่นำมาสกัด  จึงไม่ค่อยบริสุทธิ์
2. การกลั่น  (Distillation) เป็นวิธีที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย  เพราะเป็นวิธีที่ประหยัด  และสูญเสียน้ำมันเพียงเล็กน้อยโดยแบ่งออกเป็น 3 วิธีคือ

2.1 การกลั่นโดยใช้ไอน้ำ (Steam Distillation) วิธีคือการนำพืชไปวางในหม้อกลั่นที่มีน้ำอยู่ข้างล่าง ลักษณะคล้ายหม้อนึ่ง เพียงแต่ไม่แยกส่วน แล้วต้มน้ำให้กลายเป็นไอผ่านพืชออกมา น้ำมันหอมระเหยก็จะถูกปล่อยออกมากับไอน้ำผ่านไปตามท่อที่ทำให้ไอน้ำเย็นตัวลงกลายเป็นของเหลวดักเก็บไว้ในขวดจะได้น้ำลอยแยกชั้นอยู่บนน้ำ หรือข้างล่างแล้วแต่คุณสมบัติของน้ำมันนั้นๆ จากนั้นแยกน้ำมันออกมาไว้ใช้
2.2 การกลั่นโดยใช้พืชแช่ในน้ำ  (Water  0r  Hydro  Distillation) พืชที่ใช้จะเป็นพืชที่ทนต่อความร้อนสูง  เช่น  พืชแห้ง  แข็ง  หรือเป็นเปลือกไม้  วิธีคือนำพืชมาแช่ลงในน้ำแล้วให้ความร้อนจนน้ำเดือด  เซลล์ของพืชจึงแตกตัว  และน้ำมันหอมระเหยจะแยกลอยตัวขึ้นมา
2.3 การกลั่นด้วยไอน้ำภายใต้แรงดันสูง (Vacuum Steam Distillation) วิธีการเหมือนกับการสกัดแบบกลั่นโดยใช้ไอน้ำ แต่อยู่ภายใต้ความดันในภาชนะที่ปิดสนิท เพื่อเป็นการลดจุดเดือดของน้ำและน้ำมันหอมระเหยให้ต่ำลง ทำให้น้ำมันหอมระเหยไม่ถูกทำลายคุณสมบัติด้วยความร้อนสูงจะได้คุณภาพน้ำมันหอมระเหยที่ดีกว่า 2 วิธีแรก

 

 

 

 

 

 

 

 

 


3. การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent  Extraction) แบ่งได้เป็น 3 ประเภท

3.1 ตัวทำลายที่ระเหยได้ (Volatile Solvent)
3.1.1 สารจำพวก Petroleum ether, Hexane
- การสกัดเย็น 
- การสกัดร้อน
3.1.2 สารจำพวก Alcohol 95 %
- การสกัดร้อน
- การสกัดเย็น
3.2 ตัวทำละลายที่ระเหยไม่ได้ เช่น น้ำมัน หรือไขมันจากพืช สัตว์ เหมาะสำหรับดอกไม้ที่มีน้ำมันหอมระเหยน้อย
3.2.1 Maceration เป็นการสกัดโดยวิธีแช่พืชหรือดอกไม้ไว้ในน้ำมันพืช หรือน้ำมันจากสัตว์ ตั้งที่อุณหภูมิห้อง หรือใช้ความร้อน 70 C จะได้สารประกอบของพืชที่ละลายในน้ำมัน เรียกการสกัดที่ได้ว่า Oil Extract
3.2.2 Enflurage  เป็นวิธีสกัดโดยใช้ไขมันแข็งจากพืชหรือสัตว์มาวางบนภาชนะแก้วที่มีฝาปิด  แล้วนำพืช  หรือดอกไม้มาวางไว้บนไขมันแข็ง  ปิดฝาทิ้งไว้ให้ดอกไม้รำเพยกลิ่นออกมา  กลิ่นซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยจะถูกดูดซับไว้ในไขมันแข็งเรียกว่า  Pommade แล้วจึงนำมาแยกเอาน้ำมันออกจากไขมันแข็งโดยสกัดด้วย  Absolut  alcohol  จะได้ Absolut  Oil  และได้น้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นธรรมชาติ
3.3 สารละลายที่เป็นก๊าซ  (Innert  Gas)  เช่น คาร์บอนไดออกไซด์  โดยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกทำให้เป็นของเหลวที่ความดันสูง  ผ่านพืช  หรือดอกไม้  ก๊าซคาร์บอนจะพาเอาน้ำมันหอมระเหยออกมาจากพืช  แล้วจึงนำสารสกัดที่ได้มาระเหยเอาก๊าซออกมาที่อุณหภูมิห้อง  ทำให้น้ำมันหอมระเหยไม่ถูกทำลายโครงสร้างด้วยความร้อน

 

 

 

 

 

 

 

 

เรียบเรียงบทความ "ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย (Essential Oils)" โดยกองบรรณาธิการ www.ok-spa.com

 
 
 
Copyright (c) 2011 by OK-Spa